โรงเรียน ดรุณสิกขาลัย
ขั้นตอนที่ 4 เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง
ทั้งการหาข้อมูล การทดลอง การสร้างชิ้นงาน หรือการพบปะเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและสถานที่จริงนักเรียนจะได้สัมผัสและเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง มิใช่เพียงการเรียนรู้ตามทฤษฏีเท่านั้น หลักจากนั้นนักเรียนจะนำองค์ความรู้ที่ได้สร้างขึ้นมานำเสนอ เพื่อเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนๆ ในกลุ่ม อีกทั้งคุณครูยังได้ตรวจสอบได้ว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ ถ้ายังไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน ต้องให้ผู้เรียนย้อนกลับไปเริ่มต้น หาข้อมูลใหม่หรือเพิ่มเติมอีกครั้ง จนกว่าจะสมบูรณ์ จึงจะไปสู่ขั้นตอนที่ 5 ได้ ซึ่งเราเรียกกระบวนการเหล่านี้ว่ากระบวนการ PDCA (Plan Do Check Act) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและไม่มีที่สิ้นสุด และในการทำกิจกรรมทุกครั้งจะมีการบันทึกและสรุปสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการเขียน การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตลอดจนทักษะการนำเสนออย่างถูกต้อง
ทั้งการหาข้อมูล การทดลอง การสร้างชิ้นงาน หรือการพบปะเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและสถานที่จริงนักเรียนจะได้สัมผัสและเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง มิใช่เพียงการเรียนรู้ตามทฤษฏีเท่านั้น หลักจากนั้นนักเรียนจะนำองค์ความรู้ที่ได้สร้างขึ้นมานำเสนอ เพื่อเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนๆ ในกลุ่ม อีกทั้งคุณครูยังได้ตรวจสอบได้ว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ ถ้ายังไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน ต้องให้ผู้เรียนย้อนกลับไปเริ่มต้น หาข้อมูลใหม่หรือเพิ่มเติมอีกครั้ง จนกว่าจะสมบูรณ์ จึงจะไปสู่ขั้นตอนที่ 5 ได้ ซึ่งเราเรียกกระบวนการเหล่านี้ว่ากระบวนการ PDCA (Plan Do Check Act) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและไม่มีที่สิ้นสุด และในการทำกิจกรรมทุกครั้งจะมีการบันทึกและสรุปสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการเขียน การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตลอดจนทักษะการนำเสนออย่างถูกต้อง
8 ขั้นตอนการเรียนรู้
หลักสูตรการสอนแบบ วอลดอร์ฟ (waldorf)
การศึกษาในโรงเรียนวอลดอร์ฟ มิใช่เป็นเรื่องของระบบวิธีการสอน หากแต่เป็นเรื่องของศิลปะ ศิลปะแห่งการปลุกสิ่งที่ดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนให้ตื่นขึ้นมา ฉะนั้น โรงเรียนวอลดอร์ฟมิได้มุ่งหมายจะให้การอบรมสั่งสอน หากแต่มุ่งหมายจะปลุก โดยแรกสุดจะต้องปลุกครูขึ้นเสียก่อน จากนั้นครูจะต้องปลุกนักเรียนและอนุชนทั้งหลายอีกต่อหนึ่งข้างต้นคือคำกล่าวของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาและนักการศึกษาชาวออสเตรีย ผู้ให้กำเนิดปรัชญาการศึกษาวอลดอร์ฟ และก่อตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกขึ้นที่ประเทศเยอรมนี โดยมุ่งหมายให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างสมดุลครบถ้วนทั้งร่างกาย จิตใจ และปัญญา เพื่อเติบโตขึ้นมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้กลายต้นแบบของเครือข่ายโรงเรียนวอลดอร์ฟจำนวนนับพันแห่งใน 50 ประเทศทั่วโลก
ความเป็นมา
รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (1861 -1925) นักปราชญ์ผู้ก่อตั้งการศึกษา วอลดอร์ฟ เกิดเมื่อปี ค.ศ.1861 ในฮังการี การศึกษาของเขาในช่วงต้นคือวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผลงานเขียนในระยะแรกเกี่ยวกับปรัชญาของคานต์ (Kant ) ต่อมาเขาได้ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ ปรัชญา และวรรณคดีและศึกษางานของเกอเธต์อย่างลึกซึ้งจนสามารถเป็นบรรณาธิการงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ของเกอเธต์และซิลเลอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียง รูดอล์ฟ สไตเนอร์พัฒนาปรัชญาของเขาต่อมาอีกด้วยการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องทฤษฎีว่าด้วยความรู้ อันเป็นผลงานชิ้นสำคัญในชีวิตโดยได้รับการตีพิมพ์ในชื่อ The Philosphy of Freedom " ปรัชญาแห่งความเป็นอิสระและหลุดพ้น " งานของเขาตั้งแต่นั้นจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตคือการศึกษาเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และการแสวงหาความจริงของมนุษย์ปรัชญา (Anthroposophy)ซึ่งเขาพัฒนาขึ้นถือเป็นศาสตร์แห่งจิตวิญญาน( Spiritual Science)ที่ก้าวพ้นความจำกัดของการแสวงหาความจริงเฉพาะจากการรับรู้ที่เป็นรูปธรรมตามปรัชญาของคานต์ไปสู่การแสวงหาความจริงจากการรับรู้ของทั้งกายและจิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มิได้แยกจากอารมณ์ความรู้สึกแต่อยู่คู่กันอย่างกลมกลืนจะนำมนุษย์ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งนั่นคืออิสระและการหลุดพ้น มนุษย์ปรัชญานี้เป็นพื้นฐานการศึกษาของวอลดอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น